บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อภิปรัชญา

ในบทความนี้  ผมต้องการจะแสดงให้เห็นว่า องค์ความรู้ของวิชาธรรมกายสอดคล้องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นอย่างดี 

ในการค้นคว้าหาความรู้ที่จะมามาเขียนนั้น ผมได้มาจาก
  1. การอ่านเอกสารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาจำนวนมาก 
  2. การปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง 
  3. การเป็นวิทยากรไปสอนตามโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และจัดการอบรมเป็นครั้งคราว 
  4. จากการสังเกต
  5. จากการสัมภาษณ์ และ
  6. จากการทำวิจัยของตนเองและเป็นที่ปรึกษางานวิจัยของคนอื่นๆ
จะเห็นว่า วิธีการหาความรู้ของผมก็เป็นการศึกษาหาความรู้อย่างเป็นหลักวิชาการ  ถ้าจะพูดให้ทันสมัยในทางวิจัยมาอีกนิดก็คือ ผมทำวิจัยประเด็นนี้ด้วยทฤษฎีฐานราก (Grounded theory)

ดังนั้น องค์ความรู้ของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีตำรับตำราเขียนไว้เป็นจำนวนมาก จึงได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นความจริง (truth)

และเป็นความจริงที่สอดคล้องกับองค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันแทนองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าของนิวตัน

อย่างไรก็ดี  ผมไม่เห็นด้วยกับนักเขียนหลายๆ คนที่ไปเหมารวมเอาว่า ความจริงของไอน์สไตน์กับความจริงของศาสนาพุทธเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

เพราะศาสนาพุทธก็คือศาสนาพุทธ มีวิธีการศึกษาที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกับการศึกษาของวิทยาศาสตร์

การกระทำของนักเขียนหลายๆ คนดังกล่าว ก็เดินทางผิด หรือซ้ำรอยเดิมเช่นเดียวกับพุทธวิชาการในยุคที่ผ่านมา  ที่เอาวิทยาศาสตร์เก่าของนิวตันมาเป็นไม้บรรทัดหรือหลักเกณฑ์ที่ตัดสินว่า เนื้อหาของพุทธศาสนาเถรวาทส่วนใดเป็นจริง ส่วนใดเป็นมายาคติ (myth)

เมื่อความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ตีความรู้ของวิทยาศาสตร์เก่าตกไป  พุทธวิชาการเหล่านั้นก็มีอาการหน้าแตกหมอไม่รับเย็บไปตามๆ กัน 

ปัจจุบันพุทธวิชาการชุดนั้น จึงไม่กล้าเขียนงานวิชาการทำนองนี้ออกมาอีก  บางส่วนก็เก็บตัวเงียบไป บางส่วนก็ไปเขียนเรื่องอื่นๆ

การเปรียบเทียบองค์ความรู้ระหว่างวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์เก่าของนิวตัน หรือจะเป็นฟิสิกส์ใหม่ของไอน์สไตน์ก็ตาม กับองค์ความรู้ของพุทธศาสนานั้น

ในการที่จะ "รู้" และ "เข้าใจ" อย่างถูกหลักวิชาการ  ควรที่จะต้องเข้าใจแนวคิดรากฐานขององค์ความรู้ของตะวันตกเสียก่อน  นั่นก็คือ  อภิปรัชญา (Metaphysics)[1]

อภิปรัชญา (Metaphysics)

อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาถึงความเป็นจริงแท้หรือความจริงสูงสุดของจักรวาล  พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ต้องการหาคำตอบของคำถามประเภทที่ว่า
  • ความจริงสูงสุดคืออะไร
  • ชีวิตกายและจิตคืออะไร
  • เนื้อแท้หรือแก่นแท้ของโลกคืออะไร เป็นต้น
เนื้อหาของอภิปรัชญาดังกล่าวนั้น มีประมาณ 3 -4 กลุ่ม แล้วแต่หลักการเขียนของตำราแต่ละเล่ม  แต่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ผมจึงแบ่งเนื้อหาของอภิปรัชญาอย่างคร่าวๆ ออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ  สสารนิยม (Materialism) กับ จิตนิยม (Idealism)

กลุ่มสสารนิยมเชื่อว่า สสารหรือพลังงานเป็นปฐมธาตุหรือเป็นธาตุพื้นฐานที่สุดของสรรพสิ่ง  กลุ่มสสารนิยมรู้จักจิตเหมือนกัน  แต่เห็นว่าจิตเป็นเพียงปรากฏการณ์ของสสาร

อาการของจิต หรือ ความรู้สึกนึกคิด จึงเป็นเพียงปฏิกิริยาทางเคมีของการทำงานทางสมองเท่านั้น  สิ่งที่เรียกว่าจิตไม่ถือว่ามีอยู่จริง

นอกจากนั้นแล้ว กลุ่มนี้ยังเชื่อว่า  สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กายเท่านั้น คือ สิ่งที่มีอยู่จริง

โดยสรุป

กลุ่มสสารนิยมเห็นว่า โลกนี้มีเพียงความจริงอย่างเดียว คือ สสารกับปรากฏการณ์ของสสาร กลุ่มจิตนิยม มีความเชื่อว่า องค์ประกอบของโลกหรือจักรวาลมี 2 ส่วน คือ สสารกับจิต  เมื่อพิจารณาเฉพาะมนุษย์  กลุ่มจิตนิยม จึงเห็นว่า มนุษย์มีส่วนประกอบ 2 อย่าง คือ กาย กับจิต (Body and Mind)

จิต คือ ความเป็นจริงสูงสุด และมีความสำคัญกว่าร่างกายหรือสสารเพราะจิตเป็นตัวตนที่แท้จริง   ส่วนร่างกายเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น

………………….
เชิงอรรถ
[1] แนวคิดรากฐานขององค์ความรู้ของตะวันตกไม่ได้มีอภิปรัชญา (Metaphysics) แต่เพียงอย่างเดียว ยังมีแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีความรู้/ญาณวิทยา (Epistemology) หรือตรรกวิทยา (logic)  เป็นต้น  แต่บทความนี้ต้องการเน้นอภิปรัชญา...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น